SQL Insert query
ทีนี้เราลองมาใช้งาน table ที่ได้กัน โดยเริ่มจากใส่ข้อมูลลงในตาราง ด้วย data type แต่ละ column ที่ต้องกำหนดให้ถูกต้อง ข้อมูลที่เพิ่มลงจะไป จะอยู่ในรูปแบบทีละแถวข้อมูล หรือ row นั่นเอง เราจะเรียกคำสั่งเพิ่มข้อมูลนี้ว่า SQL Insert into statement
รูปแบบ (Syntax)
SQL Insert into statement ข้อมูลที่ต้องระบุคือ table name, column name, value
INSERT INTO TABLE_NAME (column1, column2, column3,...columnN)
VALUES (value1, value2, value3,...valueN);
คำเตือน – การเรียงลำดับของชื่อ column จะต้องเหมือนกันกับ ลำดับของ value เพราะ SQL Insert into statement จะทำการเอาข้อมูล หรือ value ใส่ลงแต่ละ column ตามลำดับที่ระบุ
สำหรับกรณีที่เราระบุข้อมูลครบทุก column เราสามารถไม่ต้องระบุชื่อ column ก็ได้ แต่ข้อมูล หรือ value จะต้องกำหนดให้ตรงตามลำดับของ column ของ table
INSERT INTO TABLE_NAME VALUES (value1,value2,value3,...valueN);
ตัวอย่างการเพิ่ม rows ใน table
เราลองใส่ข้อมูลด้วย SQL Insert into statement ลงใน table CUSTOMERS ที่เราสร้างไว้ จำนวน 6 แถวข้อมูลตามด้านล่าง
INSERT INTO employees (emp_no,first_name,last_name,gender,birth_date,hire_date)
VALUES (10051, 'Lisa', 'Black pink', 'F', '2002-05-25',curdate());
INSERT INTO employees (emp_no,first_name,last_name,gender,birth_date,hire_date)
VALUES (10052, 'Jisoo', 'Black pink', 'F', '2002-04-16',curdate());
INSERT INTO employees (emp_no,first_name,last_name,gender,birth_date,hire_date)
VALUES (10053, 'Rose', 'Black pink', 'F', '2000-06-25' ,curdate());
INSERT INTO employees (emp_no,first_name,last_name,gender,birth_date,hire_date)
VALUES (10054, 'Jenny', 'Black pink', 'F', '1998-04-16',curdate() );
รวมถึงเราลองใส่ข้อมูล SQL Insert into statement แบบไม่ต้องระบุชื่อ column ดู
(หมายถึง เราต้องกรอกทั้งหมดทุก field ใน table )
INSERT INTO CUSTOMERS
VALUES (10055, 'BamBam','GOT7','M','1987-02-16','2022-11-13');
Reference :
No Comments